สมาคมจะขับเคลื่อนองค์กร โดยยึดกรอบแนวคิด “HBA โมเดลความยั่งยืน” ที่ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมศักยภาพกับทุกส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่าน Alliance Partners
สมาคม (Associate) สร้างการรับรู้และยอมรับของสังคม ด้านความน่าเชื่อถือในคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ การเป็นศูนย์รวมฐานข้อมูล สถิติ และนวัตกรรม โดยเป็นผู้สะท้อนแนวคิดการสร้างบ้าน
สมาชิก (Member) ขยายขนาดสมาคม เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการเพิ่มจำนวนสมาชิกทั้งกลุ่มรับสร้างบ้านและวัสดุ และขยายฐานเพิ่มประเภทสมาชิกสมทบ เป็นกลุ่มวิศวกร สถาปนิก ช่างฝีมือและกลุ่มรับสร้างบ้านคุณภาพรุ่นใหม่
เครือข่าย (Network) สร้างความเชื่อมโยงของเครือข่าย ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ในการสร้างมาตรฐานและบุคลากรในสายวิชาชีพ ในส่วนของเอกชนจะนำสินค้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางการค้าร่วมกันกับห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญ รวมถึงเครือข่ายอื่น ๆ ที่จะทำให้ธุรกิจมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
ผู้บริโภค (Consumer) สร้างเสริมความเชื่อมั่นและเป็นที่พึ่งของผู้บริโภค ด้วยการให้ความรู้ คำปรึกษาปัญหาการสร้างบ้าน และเพิ่มการจัดอบรมความรู้ในการสร้างบ้านให้กับผู้บริโภคมากขึ้น
Competency & Experience Sharing การเสริมความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจและสมาชิก ด้วยการจัดอบรม แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของกรรมการ ที่ปรึกษาและสมาชิก
R elation & Collaboration สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือของสมาชิกอย่างเป็นเอกภาพ ในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
M arketing & Communication การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพทั้งภายนอกและภายใน ทางสื่อทุก Platform รวมทั้งการส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ทั้ง Offline และ Online
สมาคมจะบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ มีภาพลักษณ์ที่ดี
สังคมให้การยอมรับและได้มาตรฐานอาชีพสร้างบ้าน
สมาชิกมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น มีความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจ
ผู้บริโภคมีทางเลือก ได้บ้านคุณภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
ด้วยวิสัยทัศน์ “รับสร้างบ้าน จะเป็นมืออาชีพที่ผู้บริโภควางใจ”
จากภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2547 กล่าวได้ว่าดัชนีที่เป็นตัวชี้วัดสำคัญเห็นจะหนีไม่พ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัว ซึ่งธุรกิจนี้ได้พลิกกลับมามีบทบาทในวงการเศรษฐกิจของประเทศอีกครั้งหนึ่งและ ธุรกิจรับสร้างบ้าน ก็เป็นธุรกิจแขนงหนึ่งของภาคอสังหาฯที่มีบทบาทสำคัญมาตลอด แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะตลาดรับสร้างบ้านหรือกลุ่มผู้บริโภค ที่ต้องการสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง ถือเป็นตลาดที่มีกลุ่มผู้บริโภคแน่นอน และมีความผันผวนน้อยกว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์หรือโครงการบ้านจัดสรร ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคกลุ่มนี้มีการออมเงินและมีวินัยทางการเงินที่ดี แต่ละปีถือมีมูลค่าการสร้างบ้านหลายพันล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมมูลค่าการสร้างบ้านของผู้รับเหมารายย่อยอีกนับหมื่นล้านบาทต่อปี
จะปฏิเสธไม่ได้ว่า ในวงการธุรกิจรับสร้างบ้านมีทั้งผู้ประกอบการมืออาชีพที่แข็งแกร่ง และผู้ประกอบการรายเล็กๆจำนวนมาก ในปัจจุบันธุรกิจรับสร้างบ้านยังไม่มี“ เวทีกลาง ” หรือหน่วยงานที่เป็นตัวแทนในการดำเนินงานและประสานธุรกิจ ทั้งในส่วนการประสานงานเพื่อร่วมมือกันพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ หรือประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเป็นเวทีกลางเชื่อมต่อในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม และสร้างการยอมรับในธุรกิจแก่ผู้บริโภค และประชาชนได้เข้าใจ และเชื่อมั่นดังนั้น
"สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางหรือเวทีกลางในความร่วมมือของบรรดาผู้ประกอบการที่มารวมตัวกัน เพื่อจะดำเนินภารกิจต่างๆในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจรับสร้างบ้าน ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป
From the recovery situation of the economic crisis, the significant indicator could inevitably be the real estate sector which could also revive the heartbeat of national economy once again. Despite economic shocks, the home building service which is part of the real estate sector, has always been a robust industry and played significant role.
There is always a critical population within the market that desires to construct homes in their own land. This is less dynamic than real estate or housing development due to financial and saving disciplines. The value of home building has annually reached a Billion Baht, not to mention about the value of home building from other minor contractors which could total up to Ten Billion Baht per year. However, it is undeniable that there are both major and minor entrepreneurs that need a focal point to act as a business representative and coordinate with related government agencies or other business sectors. There is a need for an epicenter to facilitate social networks and help sustain the sector's credibility and reliability.
This was the rationale for the establishment of the “Home Builder Association”, Since 2004, it has been aiming to act as a center for cooperation among home building entrepreneurs and to operate various missions aiming to constantly improve home building services in the country.
ในระยะแรกของการรวมตัวกัน ได้จัดตั้งเป็นชมรมธุรกิจรับสร้างบ้าน(Home Builder Club)เมื่อเดือนเมษายน 2547 และต่อมาได้ยื่นขอจดทะเบียนเป็น สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ( Home Builder Association) ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักพัฒนาธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา
“มุ่งส่งเสริมธุรกิจรับสร้างบ้านและมวลสมาชิก ในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้า การบริการให้เป็นที่เชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของภาครัฐ องค์กรธุรกิจ ผู้บริโภค และประชาชน”
“to promote home building service business and its members in order to enhance product standard, credible and trustworthy service to the public sector, private sector, consumers and the general public”
ในอดีตการสร้าง “บ้านพักอาศัย” ของคนไทยนั้นนิยมปลูกสร้างบ้านด้วยวัสดุประเภท “ไม้” เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะสมัยก่อนป่าไม้และทรัพยากรของประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก รวมทั้งราคาถูกกว่าการก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรประเภทอิฐและคอนกรีต ซึ่งจะพบเห็นและนำมาก่อสร้างกับอาคารที่เป็นสถานที่สำคัญ ๆ ของทางราชการเท่านั้น ทั้งนี้การปลูกสร้างบ้านไม้ในสมัยก่อน ต้องอาศัยช่างไม้ฝีมือที่มีความชำนาญและถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านมาหลายชั่วอายุคน จึงจะได้ผลงานที่สวยงามและมีความประณีต
ต่อมาเมื่อป่าไม้และทรัพยากรลดลง การนำเอาวัสดุก่อสร้างประเภทอิฐและคอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้ในการสร้างบ้าน เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายและได้รับการยอมรับจากคนไทยมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งระยะต่อ ๆ มาการสร้างบ้านที่ต้องการความมั่นคงถาวร และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนใหญ่จะทำการก่อสร้างจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและการก่ออิฐฉาบปูน
เมื่อระบบการสร้างบ้านเปลี่ยนจากการปลูกสร้างด้วยไม้ มาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่ออิฐฉาบปูน ความชำนาญของช่างไม้แต่เดิมนั้น ไม่เพียงพอต่อการจะก่อสร้างบ้านระบบใหม่เสียแล้ว ทั้งนี้เพราะการออกแบบโครงสร้างและรูปแบบทางสถาปัตย์ จะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม โดยมีสถาบันการศึกษาของรัฐทำหน้าที่ผลิตบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถคือ วิศวกร และ สถาปนิก ออกมาประกอบอาชีพด้านนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งเทคนิคและขั้นตอนการก่อสร้างต่าง ๆ ก็จะต้องได้รับการควบคุมดูแลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้การสร้างบ้านได้มาตรฐานและมีความมั่นคงแข็งแรง
ที่ผ่านมาผู้บริโภคและประชาชนส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทของวิชาชีพนี้ รวมทั้งการสร้างบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป ยังมีความเข้าใจที่ผิด ๆ หลายประการส่งผลให้ทุกวันนี้เราจะพบเห็นผลงาน “ขยะทางสถาปัตย์และวิศวะ” อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ตลอดจนผู้ประกอบการหรือผู้อยู่ในอาชีพรับเหมาก่อสร้างรายย่อย ๆ มีเกิดขึ้นมากมาย โดยยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆมาควบคุมการประกอบวิชาชีพนี้ ซึ่งผลที่ตามมาคือการมิได้ยึดถือหรือนำเอาวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มาใช้ในการประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับสินค้าหรือบ้านที่ก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม
In the past, home building had mainly based on wood due to the abundance of forest resources in Thailand. The cost of wood used for construction was lower compared to other building materials such as bricks and concretes, which then were used mainly for significant official places. Carpenters passed on their skills and expertise from generation to generation in order to deliver the beauty and delicacy of home building.
Later, when forest and natural resources depleted, brick laying and reinforced concrete construction have widely been the materials of choice by many Thais due to their durability and strength for home building.
Shifting from the old wooden home buildings to newer brick and reinforced concrete construction systems required more expertise as compared to conventional carpentry processes. This is because of the architectural pattern and construction design needed to achieve better and stronger infrastructure. Architects and engineers were especially trained by public education institutes to work in these fields. Moreover, construction techniques and processes have to be monitored and controlled in compliance with academic standards in order to ensure construction quality and endurance.
However, most people and consumers in the past still lacked the understanding of such field. That misconception of house buildings has turned out to be “architectural and engineering thrash”, as seen in many urbanscapes. In addition, minor contractors and entrepreneurs were widely set up without any public agents or organizations. Construction products and houses which were built and delivered to the consumers by them were substandard mainly because of their negligence in hiring professional architects and engineers.
เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230