บ้านริมน้ำ หนึ่งในแบบบ้านยอดนิยมที่ให้บรรยากาศของความรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย แต่การสร้างบ้านริมน้ำสักหลังต้องคำนึงถึงความแข็งแรง ปลอดภัย ทนทานต่อความชื้น และมีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทรับสร้างบ้านช่วยดูแลเรื่องงานสร้าง รวมทั้งเจ้าของบ้านเองก็ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างและดูแลบ้านริมน้ำด้วย
เรื่องต้องรู้! เมื่อคิดสร้างบ้านริมน้ำ
1. ตรวจสอบดินและการกัดเซาะริมตลิ่ง
โดยส่วนมากดินริมตลิ่งมักเป็นดินอ่อน การกัดเซาะของดินริมตลิ่งจึงเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้นสิ่งสำคัญของการสร้างบ้านริมน้ำคือต้องตรวจสอบสภาพดิน วางแผนสร้างแนวรั้วป้องกันตลิ่งไว้ก่อน เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
โดยการสร้างรั้วควรใช้เสาเข็มรูปตัวไอ (I-Section) เพราะสามารถใส่แผ่นพื้นสำเร็จรูปวางลงไปในช่องว่างระหว่างเข็มได้เลยโดยไม่ต้องก่ออิฐ นอกจากนี้เข็มตัวไอยังมีคุณสมบัติทนต่อแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสได้ดีกว่าเข็มชนิดอื่น
2. ระยะถอยร่นตามกฎหมาย
บ้านริมน้ำก็มีระยะถอยร่นเช่นเดียวกับบ้านบนที่ดินปกติ ไม่สามารถสร้างชิดติดขอบได้ ดังนั้นก่อนสร้างบ้านริมน้ำควรสำรวจแนวเขตที่ดินให้ดี ดูระยะห่างของบ้านจากแหล่งน้ำให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้ไม่มีปัญหาบานปลายตามมาภายหลัง
หากบ้านต้องสร้างล้ำออกมากเกินแนวเขตพื้นที่ทั้งในคลองหรือแม่น้ำ กรมเจ้าท่ามีสิทธิ์ร้องเรียนหรือสั่งหยุดการก่อสร้างได้ทันที เพราะถือเป็นกรรมสิทธิ์พื้นที่ของหลวง
โดยกฎหมายระยะถอยร่นอาคาร ประเภทการก่อสร้างอาคารพื้นที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะ ระบุไว้ว่า
- สำหรับแหล่งน้ำที่เป็น คูคลอง ลำประโดง แม่น้ำ ที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร จะต้องถอยห่างอย่างน้อย 3 เมตร
- สำหรับแหล่งน้ำที่กว้างกว่า 10 เมตร จะต้องถอยห่างอย่างน้อย 6 เมตร
- สำหรับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ทะเลสาบ ทะเล จะต้องถอยห่างอย่างน้อย 12 เมตร
3. ตรวจระดับน้ำขึ้นสูงสุด
ระดับน้ำนั้นมีขึ้นและลงตามฤดูกาล หรือจากปริมาณน้ำฝน ดังนั้นก่อนการสร้างบ้านริมน้ำควรศึกษาข้อมูลระดับน้ำขึ้นสูงสุดของพื้นที่นั้น เพื่อวางแผนสร้างบ้านไม่ให้น้ำท่วม โดยสามารถขอข้อมูลได้จากกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ ร่วมกับการสังเกตด้วยตนเอง เช่น การดูรอยเส้นน้ำท่วมจากเสาสะพานในแม่น้ำ ลำคลองที่อยู่ใกล้พื้นที่สร้างบ้าน โดยให้ดูรอยเส้นน้ำท่วมเสา ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับระดับดินในพื้นที่ก่อสร้างบ้านได้
4. ยกใต้ถุนให้สูงกว่าระดับน้ำ
เมื่อทราบระดับน้ำขึ้นสูงสุดของพื้นที่สร้างบ้านแล้ว ก็ควรวางแผนยกใต้ถุนให้สูงกว่าระดับน้ำ เพราะคงไม่มีใครอยากอยู่บ้านที่เสี่ยงกับน้ำท่วมอย่างแน่นอน
การออกแบบว่าควรยกใต้ถุนขึ้นสูงแค่ไหน ตัวบ้านจึงจะปลอดภัย มีวิธีการคำนวณดังนี้คือ
ความลึกของระดับน้ำ + ความลึกของระดับน้ำเดิม × 1.25 = ความยาวเสาเข็มที่จะทำแนวรั้ว (ค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 10 เมตร)
5. ทิศทางแหล่งน้ำและแสงสะท้อน
ทิศทางของแหล่งน้ำ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกับการอยู่อาศัยมาก โดยมีผลในเรื่องของละอองน้ำที่พัดพาความชื้นเข้าสู่ตัวบ้าน และการสะท้อนแสงแดดจากผิวน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งจะทำให้บ้านร้อนอบอ้าวกว่าปกติ
ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงการสร้างบ้านที่แหล่งน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกของบ้าน เพราะเป็นทิศที่รับแสงแดดโดยตรง หากเลี่ยงไม่ได้ให้สร้างบ้านห่างจากแหล่งน้ำเพื่อหลบเลี่ยงแสงแดดที่สะท้อนผิวน้ำมาโดนบ้าน หรือใช้ต้นไม้ใหญ่ช่วยบดบังแสงแดดที่สะท้อนเข้าบ้าน
สำหรับทิศทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบ้านริมน้ำ คือ ทิศใต้ เพราะเป็นทิศทางที่ลมจะพัดพาละอองน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้บ้านเย็นสบาย แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงการสร้างห้องครัว ห้องน้ำ ทางทิศรับลม เพราะแทนที่จะได้รับอากาศสดชื่น จะกลายเป็นกลิ่นควันจากการทำอาหาร หรือกลิ่นจากห้องน้ำย้อนกลับเข้ามาในบ้านแทน
สำหรับผู้ที่มีที่ดินริมน้ำ หรือมีแผนจะสร้างบ้านบนที่ดินริมน้ำ แนะนำให้เลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่มีประสบการณ์สูง และมีผลงานในการรับสร้างบ้านริมน้ำมาแล้ว เนื่องจากการสร้างบ้านริมน้ำมีจุดที่ต้องระมัดระวัง และมีการวางแผนการก่อสร้างอย่างรอบคอบ เพื่อให้เจ้าของบ้านอยู่สบายไร้กังวล หมดปัญหาที่จะตามมาในภายภาคหน้า
สนับสนุนบทความโดย
บริษัท เอ พลัส เพอร์เฟคท์ โฮม จำกัด
802/849 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค หมู่ 12 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130
โทรศัพท์: 08 0526 2619
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บไซต์: www.aplusperfecthome.com