บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

อุปกรณ์บังแดด (Shading Device)

23
พ.ย.
2560

 

อุปกรณ์บังแดด (Shading Device)

รูป : แบบบ้านที่ส่งเข้าประกวดในโครงการประกวดบ้านจัดสรร

ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้นที่มีแสงแดดรุนแรง เมื่อแสงแดดสาดส่องโดนผนังบ้านหรือเข้าไปภายในบ้านจะทำให้เกิดความร้อนและทำให้ภายในบ้านมีอุณหภูมิสูงขึ้น การออกแบบเพื่อควบคุมแสงแดดด้วยอุปกรณ์บังแดด นอกจากจะสามารถลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านแล้วยังช่วยปรับปรุงคุณภาพแสงธรรมชาติภายในบ้าน สร้างความสบายทางสายตาโดยการลดความจ้าและความเข้มของแสงแดดลง นอกจากนี้การออกแบบอุปกรณ์บังแดดอย่างมีศิลปะก็จะช่วยให้อาคารมีหน้าตาที่โดดเด่นน่าสนใจได้อีกด้วย อุปกรณ์บังแดดภายนอก เช่น ชายคายื่นเหนือช่องเปิด  (overhang) และครีบบังแดดแนวตั้ง (side fins) สามารถช่วยป้องกันแดดส่วนที่ไม่ต้องการไม่ให้เข้ามาภายในอาคาร ส่วนอุปกรณ์กันแดดภายในอาคารเช่น แผงกันแดด (venetian blinds) ก็สามารถป้องกันแดดได้บางส่วน แต่โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์บังแดดภายในอาคารจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเพราะแสงแดดได้ผ่านเข้าสู่ตัวบ้านและกลายเป็นความร้อนแล้ว ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรออกแบบให้มีการบังแดดเสียตั้งแต่ภายนอกอาคารเพราะเมื่อแดดผ่านกระจกเข้ามาในอาคารได้แล้วจะเปลี่ยนเป็นความร้อนซึ่งเป็นภาระสำคัญของระบบปรับอากาศ อุปกรณ์บังแดดที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงควรมีสีอ่อนและมีคุณสมบัติในการสะท้อนรังสีอาทิตย์ได้ดี โดยทั่วไปแล้วระบบอุปกรณ์บังแดดภายนอกอาคารจะมี 3 รูปแบบ คือ  

1. อุปกรณ์บังแดดแนวนอน เหมาะสำหรับหน้าต่างด้านทิศเหนือและทิศใต้ จะสามารถบังแสงแดดในช่วงเที่ยงและช่วงบ่ายได้ดี โดยการออกแบบหน้าต่างด้านทิศเหนือจะใช้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในช่วงเดือนมิถุนายน ส่วนการออกแบบหน้าต่างทิศใต้จะใช้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในช่วงเดือนธันวาคม เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ทำมุมต่ำที่สุด  

2. อุปกรณ์บังแดดแนวตั้ง เหมาะสำหรับหน้าต่างด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จะสามารถบังแสงแดดในช่วงเช้าและช่วงเย็นได้ดี แต่การออกแบบแผงบังแดดในแนวดิ่งเพื่อบังแสงแดดในทุกช่วงเวลานั้นทำได้ยาก เนื่องจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในประเทศไทยในช่วงเวลาต่างๆ ตามแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจะมีมุมที่ต่ำและเบี่ยงเบนมาก 

3. อุปกรณ์บังแดดแบบผสมเป็นแผงบังแดดที่รวมเอาคุณสมบัติที่ดีของแผงบังแดดแนวราบและแนวดิ่งมาไว้รวมกัน เพื่อให้สามารถป้องกันลำแสงแดดที่ส่องมาได้ตลอดวัน 

 

อุปกรณ์บังแดด (Shading Device)

รูปwww.levolux.blogspot.com 
www.makewindow.tumblr.com
www.archdaily.com

ในประเทศไทย แสงแดดโดยตรงทางด้านทิศเหนือจะมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นรังสีความร้อนแบบกระจาย (diffuse radiation) ซึ่งมีความร้อนน้อยกว่า ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจะรับแสงแดดตรงในปริมาณมากและป้องกันได้ยาก ส่วนด้านทิศใต้จะได้รับแสงแดดมากที่สุดตลอดทั้งวัน ดังนั้นการออกแบบอุปกรณ์บังแดดภายนอกอาคารจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับทิศ 

 

- ทิศใต้ ควรใช้อุปกรณ์บังแดดแบบผสมและเพิ่มชายคายื่นยาวช่วยบังแดดทั้งในมุมสูงและต่ำ

- ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ใช้แบบแนวตั้งและปรับมุมได้

- ทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ใช้แบบผสม

- ทิศเหนือ ไม่ได้ค่อยได้รับแสงแดดโดยตรงจึงไม่

อุปกรณ์บังแดด (Shading Device)

รูปwww.tgcontrol.com

 

การติดตั้งแผงบังแดดควรหลีกเลี่ยงการถ่ายเทความร้อนจากแผงบังแดดเข้าสู่ตัวอาคาร โดยให้มีจุดเชื่อมต่อระหว่างแผงบังแดดกับตัวอาคารน้อยที่สุด หรือให้มีช่องว่างระหว่างแผงบังแดดกับตัวอาคารเพียงพอเพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ การใช้อุปกรณ์บังแดดภายในอาคารจะไม่สามารถลดปริมาณความร้อนที่เข้าสู่อาคารได้ จึงควรใช้เมื่อต้องการช่วยให้เกิดความสบายตาและลดแสงจ้า (glare) เท่านั้น นอกจากการใช้แผงบังแดดภายนอกอาคารแล้ว การปลูกต้นไม้ใหญ่ในบริเวณบ้านก็เป็นอุปกรณ์บังแดดตามธรรมชาติที่ดีมากในการช่วยบังแดดไม่ให้โดนผนัง และช่วยให้อากาศเย็นลงได้อีกด้วย  

 

อุปกรณ์บังแดด (Shading Device)

รูป : แบบบ้านที่ส่งเข้าประกวดในโครงการประกวดบ้านจัดสรร อนุรักษ์พลังงานดีเด่น ปี 2560

 

 

โครงการรประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154